ระบบประกันคุณภาพการวิจัย

ระบบประกันคุณภาพการวิจัย (STC-RQA : Siam Technology college  Research Quality Assurance)  ระบบประกันคุณภาพการวิจัย (STC-RQA : Siam Technology college  Research Quality Assurance) กำหนดขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดของระบบประกันคุณภาพการวิจัยมีองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของงานวิจัยทั้งในลักษณะของแต่ละโครงการหรือชุดโครงการ เพื่อให้นักวิจัยและ/หรือหัวหน้าโครงการวิจัยต้องคำนึงถึงโดยมีองค์กรทำหน้าที่กำกับดูแลงานวิจัยตามภารกิจและพันธกิจ องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพการวิจัย ((STC-RQA) ประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพพื้นฐาน (ข้อ ก-ง) 14 ปัจจัย และปัจจัยคุณภาพเพื่อความก้าวหน้า (ข้อ จ-ฉ) อีก 3 ปัจจัย รวมทั้งหมด 17 ปัจจัยคุณภาพ ดังนี้

ก. บริบท (Context) สามารถแสดงให้เห็นถึงสถานภาพของงานวิจัย ทิศทาง และเป้าหมายในภาพรวมเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีคุณค่า ประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพ คือ

1.ทิศทางและเป้าหมายการวิจัย

2.แผนกลยุทธ์การวิจัยและการวางแผนงานวิจัยที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์

ข. ทรัพยากรและการบริหารจัดการทรัพยากร (Resource and Resource Management) สามารถแสดงให้เห็นถึงการกำกับ สนับสนุน ส่งเสริมให้มีทรัพยากรที่จำเป็นและเพียงพอต่อการวิจัย รวมถึงการคงไว้ซึ่งทรัพยากร การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง ประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพคือ

3.บุคลากรด้านการวิจัย

4.เครื่องมือและอุปกรณ์การวิจัย

5.งบประมาณและการเงิน

6.ข้อมูลและสารสนเทศเพื่องานวิจัย

ค. กระบวนการในการบริหารจัดการงานวิจัย (Research Management Process) สามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการบริหารจัดการให้งานวิจัยดำเนินไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพตามเงื่อนไขมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น ๆ โดยประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพ คือ

7.การบริหารจัดการและการดำเนินการวิจัย

8.จริยธรรมการวิจัยในคนหรือที่เกี่ยวข้องกับคน และจริยธรรมการวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลองในการวิจัย

9.จรรยาบรรณการวิจัย

10.ความเชื่อมโยงการวิจัยกับกระบวนการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผลสัมฤทธิ์ใน การสร้างบัณฑิตควบคู่ไปกับงานวิจัย 11.การประเมินผลผลิตระหว่างกระบวนการวิจัย

12.การตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์

ง. ผลผลิต (Output)

13.การจัดการความรู้/องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย

14.การดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

จ. ความร่วมมือและการประสานการดำเนินงานกับนักวิชาการ/กลุ่มวิจัยอื่น ๆ (Cooperation and Networking) 15.การดำเนินการวิจัยแบบบูรณาการ

16.ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอื่น ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัย ภายในประเทศและ กับต่างประเทศ

ฉ. โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยตามมาตรฐานระดับนานาชาติ (International Standardization)

17.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับนานาชาติ

คุณภาพการวิจัยตามโครงสร้างดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทั้งชุดโครงการวิจัยหรือโครงการวิจัยเดี่ยว ซึ่งบางปัจจัยอาจประยุกต์ใช้ในรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละระดับได้ มาตรฐานการวิจัยนี้ใช้ในการพิจารณาประเมินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปการประเมินมาตรฐานการวิจัยอาจจะต้องเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับสภาพความต้องการของผู้วิจัย ผู้ใช้ผลงานวิจัย ผู้สนับสนุนการวิจัย รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ